ประวัติเมืองดอกบัวปทุมธานี


ประวัติความเป็นมา


ถิ่นบัวหลวง เมืองรวงข้าว เชื้อชาวมอญ นครธรรมะ
พระตำหนักรวมใจ สดใสเจ้าพระยา ก้าวหน้าอุตสาหกรรม
คำขวัญจังหวัดปทุมธานี

          จังหวัดปทุมธานี เดิมเป็นถิ่นฐานบ้านเมืองมาแล้วไม่น้อยกว่า 300 ปี นับตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา คือเมื่อพุทธศักราช 2202 มังนันทมิตรได้กวาดต้อนครอบครัวมอญ เมืองเมาะตะมะ อพยพหนีภัยจากศึกพม่าเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ครอบครัวมอญเหล่านั้นไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านสามโคก จากนั้นมาชุมชนสามโคกได้พัฒนาขึ้นมาตามลำดับ ต่อมาแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชแห่งกรุงธนบุรี ชาวมอญได้อพยพหนีพม่าเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารอีกเป็นครั้งที่ 2 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งบ้านเรือนที่สามโคก และครั้งสุดท้ายในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้มีการอพยพชาวมอญครั้งใหญ่จากเมืองเมาะตะมะ เข้าสู่ประเทศไทยเรียกว่า " มอญใหญ่" พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ชาวมอญบางส่วนตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านสามโคกอีกเช่นเดียวกัน ฉะนั้นจากชุมชนที่ขนาดเล็ก "บ้านสามโคก" จึงกลายเป็น "เมืองสามโคก" ในกาลต่อมา
          พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงเอาพระทัยใส่ดูแล ทำนุบำรุงชาวมอญเมืองสามโคกไม่ได้ขาด ครั้งเมื่อเดือน 11 พุทธศักราช 2358 ได้เสด็จประพาสที่เมืองสามโคก และประทับที่พลับพลาริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งซ้ายเยื้องเมืองสามโคก ยังความปลาบปลื้มใจให้แก่ชาวมอญเป็นล้นพ้น จึงได้พากันหลั่งไหลนำดอกบัวขึ้นทูลเกล้าฯถวายราชสักการะอยู่เป็นเนืองนิจ ยังความซาบซึ้งในพระราชหฤทัยเป็นที่ยิ่ง จึงบันดาลพระราชหฤทัยให้พระราชทานนามเมืองสามโคกเสียใหม่ว่า "เมืองประทุมธานี" ซึ่งวันนั้นตรงกับวันที่ 23 สิงหาคม พุทธศักราช 2538 ด้วยพระมหากรุณาธิคุณดังกล่าว ชื่อเมืองประทุมธานีจึงได้กำเนิดนับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
          ในปีพุทธศักราช 2461 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าให้ใช้คำว่า "จังหวัด" แทน"เมือง" และให้เปลี่ยนการเขียนชื่อจังหวัดใหม่จาก "ประทุมธานี" เป็น "ปทุมธานี" ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯให้ยุบจังหวัด ธัญบุรีขึ้นกับจังหวัดปทุมธานีเมื่อ พุทธศักราช 2475
          นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้พระราชทานนาม เมืองปทุมธานีเป็นต้นมา จังหวัดปทุมธานีก็เจริญรุ่งเรืองขึ้นเป็นลำดับ เป็นจังหวัดที่อุดมสมบูรณ์มีศิลปวัฒนธรรม และเอกลักษณ์อื่นๆเป็นของตัวเองซึ่งเป็นสิ่งที่ชาวปทุมธานีภาคภูมิใจเป็น อย่างยิ่ง และเป็นจังหวัดในเขตปริมณฑลที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาก ตัวเมืองปทุมธานีอยู่ห่างจากกรุงเทพฯไปทางทิศเหนือประมาณ 46 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 1,565 ตารางกิโลเมตร เเบ่งการปกครองออกเป็น 7 อำเภอ คือ อำเภอเมืองปทุมธานี สามโคก ลาดหลุมเเก้ว ธัญบุรี หนองเสือ คลองหลวง และลำลูกกา

สัญลักษณ์ประจำจังหวัดปทุมธานี

สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
 
ตราสัญลักษณ์จังหวัดปทุมธานี
รูปวงกลมมีสัญลักษณ์ดอกบัวหลวงสีชมพูอยู่ตรงกลาง และรวงข้าวสีทองอยู่ 2 ข้าง
ดอกบัวและต้นข้าว หมายถึง ความสมบูรณ์ด้วย พืชพันธุ์ธัญญาหาร
จังหวัดปทุมธานี ใช้อักษรย่อว่า "ปท"




คำขวัญของจังหวัดปทุมธานี
ถิ่นบัวหลวง เมืองรวงข้าว เชื้อชาวมอญ นครธรรมะ พระตำหนักรวมใจ สดใสเจ้าพระยา ก้าวหน้าอุตสาหกรรม

ธงประจำจังหวัดปทุมธานี



ความหมายของธงประจำจังหวัด
                             สีน้ำเงิน  หมายถึง   พระมหากษัตริย์
                             สีขาว     หมายถึง  ศาสนา
          ดอกบัวหลวงกับต้นข้าว  หมายถึง  ความอุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพันธ์ธัญญาหารโดยเฉพาะอย่างยิ่งดอกบัวและข้าว
          ความหมายรวมของธงประจำจังหวัดปทุมธานี จึงหมายถึงว่าชาวจังหวัดปทุมธานี เป็นหมู่คณะที่มีความรักและความสามัคคีเป็นปึกแผ่นอันเป็นส่วนหนึ่ง  ของชาติไทย  ที่มีความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา  พระมหากษัตริย์
  
ความสำคัญของธงประจำจังหวัดปทุมธานี เป็นการเชิดชูเกียรติของจังหวัด  บ่งบอกถึงสัญลักษณ์ของจังหวัด
เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจชาวจังหวัดปทุมธานี ให้มีความรักท้องถิ่นและมีความร่วมมือร่วมใจกันสร้างสรรค์ ความเจริญ และมีความเอื้ออารีต่อกัน
ดอกไม้ประจำจังหวัด


             ชื่อสามัญ           Nelumbo nucifera
             ชื่อวิทยาศาสตร์    Nymphaea lotus Linn.
             วงศ์                  NYMPHACACEAE
             ชื่ออื่น                บุณฑริก, สัตตบงกช
             ลักษณะทั่วไป      เป็นพรรณไม้น้ำประเภทพืชล้มลุก มีลำต้นและหัวอยู่ในดิน
                                    ใต้น้ำการเจริญชูก้านใบและดอกขึ้นมาบนผิวน้ำ
                                    ใบมีลักษณะกลมกว้างใหญ่ ผิวใบเรียบสีเขียวขอบ
                                    น้ำตาล ดอกเป็นกลีบซ้อนกันหลายชั้น มีสีขาว ชมพู     
                                    เหลือง ลักษณะ สีสันขนาดของใบและดอกขึ้นอยู่กับชนิด
                                    ของพันธุ์  การขยายพันธุ์  โดยการเพาะเมล็ด แยกกอจาก
                                    หัวหรือเหง้า สภาพที่เหมาะสม ดินเหนียว ดินนา ดินผสม
                                    อินทรีย์ ต้องการน้ำมากเพราะเป็นพืชเจริญในน้ำแสงแดด
                                    อ่อน จนถึง แดดจัด  ถิ่นกำเนิด แถบทวีปเอเซีย
                                    เช่น ประเทศจีน อินเดีย และไทย